fbpx

วิธีกักโรคปลาคาร์ป กักกี่วัน ควรทำอะไรบ้างก่อนรวมปลา

การกักโรคปลาคาร์ป ก่อนที่จะปล่อยลงบ่อเลี้ยงถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ เพราะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่อาจจะติดมากับปลาที่ได้มาใหม่ และเป็นการรักษาสุขภาพปลาคาร์ปด้วย โดยมีวิธีการกักโรคปลาคาร์ป ก็มีหลายวิธีแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และปัจจัยในการเลี้ยงปลา โดยในบทความนี้เราจะแนะนำขั้นตอนการกักโรคปลาคาร์ปที่ถูกต้องและปลอดภัย ตามแบบฉบับของทางฟาร์มกันครับ

เหตุผลที่ต้องกักโรคปลาคาร์ป

  1. ป้องกันโรค : การกักโรคปลาคาร์ป ช่วยป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย, ไวรัส, โปรโตซัว, และเชื้อรา ซึ่งอาจทำให้ปลาคาร์ปป่วย และตายได้
  2. ลดความเสี่ยง : การกักโรคปลาคาร์ป ช่วยลดความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นจากปลาตัวใหม่มาแพร่กระจายให้กับปลาตัวเก่าในบ่อเลี้ยง รวมทั้งลดความเสี่ยง ปลาเก่าในบ่อที่มีเชื้อโรคแล้ว จะแพร่กระจายให้จากปลาตัวใหม่ด้วย

อุปกรณ์ที่ใช้ในการกักโรคปลาคาร์ป

  • เครื่องเติมอากาศ (Air pump)
  • ท่อสายลมและข้อต่อ (Air tubes)
  • หัวทราย (Air stones)
  • ปั๊มน้ำ (Water pump)
  • ท่อน้ำและข้อต่อ (Water tube)
  • กรองฟองน้ำ (Pond filter)
  • ถังน้ำ ขนาด 1,000 ลิตร (Tank)
  • ตะข่าย (Pond cover net)

ยาที่ต้องใช้ในป้องกันและรักษาโรค

เลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับอาการหรือโรคของปลา เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยสามารถใช้ยา 3 ตัวนี้เป็นหลัก ได้แก่ Para-Cide, AntiBac หรือ Bac Stop และเกลือ

  • Para-Cide ช่วยกำจัดปรสิตภายนอก เช่น เห็บ ปลิงใส หนอนสมอ
  • AntiBac, Bac Stop ช่วยกำจัดแบคทีเรีย
  • เกลือ ช่วยป้องกันและลดความเครียด รวมถึงชะลออาการหรือโรคที่เกิดขึ้น

* ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น มิเช่นนั้นอาจจะเกิดอันตรายต่อปลา

ขั้นตอนการกักโรคปลาคาร์ป

1. เตรียมสถานที่กัก

ต้องเตรียมสถานที่กักปลาคาร์ปอย่างเหมาะสม ไม่ควรคับแคบเกินไปจนทำให้ปลาเกิดความเครียด โดยจะแบ่งเป็น

บ่อหรือถังกักกัน

  • จัดเตรียมบ่อหรือถังที่แยกจากบ่อหลัก ใช้ถังที่มีขนาดพอเหมาะสำหรับปลาที่จะกักกัน อาจจะใช้บ่อผ้าใบหรือบ่อยางขนาด 1,000 ลิตร หรือ 1 ตัน (บ่อผ้าใบ 1.2m x 0.8m) ใส่น้ำที่ความสูง 0.7 m ใช้ถังกรอง 200 ลิตร
  • ติดตั้งระบบกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพและอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจน เช่น ปั๊มลมและหัวทราย

คุณภาพน้ำ

  • ใช้น้ำที่ปราศจากคลอรีนและสารเคมีอันตราย ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 6.5-8.5 และอุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส (ในกรณีใช้น้ำที่ไม่ผ่านเครื่องกรองคลอรีน ควรเตรียมน้ำพักไว้ในบ่ออย่างน้อย 1 วันพร้อมกับเปิดออกซิเจนไว้)
  • เติมเกลือที่ปราศจากไอโอดีน (เกลือสมุทร) ลงในบ่อกักด้วยความเข้มข้นประมาณ 0.3% (3 kg ต่อน้ำ 1,000 ลิตร) เกลือจะช่วยลดอาการเครียดของปลา ช่วยลดแบคทีเรียบางชนิดได้

2. การตรวจสอบและเตรียมปลา

ตรวจสุขภาพเบื้องต้น

3. การกักกันปลาคาร์ป

ระยะเวลากักกัน

  • กักกันปลาคาร์ปในบ่อกักกันเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ ในระหว่างนั้นควรตรวจสุขภาพปลาตาม(ข้อ 2) ทุกวัน

การเปลี่ยนน้ำ

  • เปลี่ยนน้ำบางส่วน (20-30%) ทุกวันหรือทุกสองวัน เพื่อรักษาคุณภาพน้ำ
  • ใช้น้ำที่ปราศจากคลอรีนและสารเคมีอันตราย

4. การใช้ยาและการตรวจสุขภาพ

การใช้ยา

  • หากพบอาการผิดปกติ เช่น แผล จุดขาว ครีบขาด ควรใช้ยาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
  • อาจใช้ยาต้านแบคทีเรีย ยาป้องกันเชื้อรา หรือยาต้านปรสิตตามความจำเป็น

การตรวจเชื้อปรสิต

  • ใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจเชื้อปรสิต โดยเก็บตัวอย่างเมือกผิวปลาเพื่อตรวจสอบ
  • หากยังพบเชื้อปรสิต ให้ปรึกษาสัตวแพทย์

5. การรักษาความสะอาด

การทำความสะอาดบ่อกักกัน

  • ทำความสะอาดบ่อกักกันและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการสะสมของเชื้อโรค

การฆ่าเชื้ออุปกรณ์

  • ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลปลา เช่น ตาข่ายและถัง ด้วยสารฆ่าเชื้อโรคหรือการแช่ในน้ำร้อน

6. การปรับสภาพปลา ก่อนลงบ่อหลัก

การปรับสภาพปลากับน้ำ

  • ก่อนย้ายปลาจากบ่อกักกันไปยังบ่อหลัก ควรปรับสภาพปลาให้คุ้นเคยกับน้ำในบ่อหลักก่อน
  • โดยค่อย ๆ ผสมน้ำจากบ่อหลักลงในบ่อกักกันทีละน้อย โดยใช้เวลา 30-60 นาที

7. การย้ายปลาไปบ่อหลัก

ตรวจสุขภาพครั้งสุดท้าย

  • ตรวจสุขภาพปลาครั้งสุดท้ายก่อนย้าย หากปลามีสุขภาพดีและไม่มีอาการผิดปกติ สามารถย้ายไปยังบ่อหลักได้

8. การป้องกันโรคในอนาคต

การกักกันปลาใหม่ทุกครั้ง

  • ทุกครั้งที่นำปลาคาร์ปใหม่เข้ามา ควรทำการกักกันตามขั้นตอนนี้เสมอ

การตรวจสุขภาพเป็นประจำ

  • ตรวจสุขภาพปลาในบ่อหลักอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาสัญญาณของโรคและดำเนินการป้องกันทันที

สูตรกักโรคปลาคาร์ปของฟาร์ม Koikoito Fish Farm

* แต่ละฟาร์มอาจมีความแตกต่างกัน สูตรนี้เป็นเพียงการนำเสนอวิธีที่ทางฟาร์มใช้อยู่


การรักษาปลาคาร์ปที่ป่วย

หากปลาคาร์ปเกิดอาการป่วยหลังจากการรวมปลาแล้ว ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำออกบางส่วน ประมาณ 20-30% ของบ่อ แล้วเติมน้ำใหม่ในปริมาตรเท่าเดิม เพื่อลดปริมาณของแอมโนเนีย และไนเตรตออกจากระบบ สังเกตอาการปลา คุณภาพน้ำ แล้วเลือกใช้ยาที่ถูกต้องตามอาการและปริมาณที่เหมาะสม โดยใช้ตามปริมาณที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือสัตวแพทย์เท่านั้น


การกักโรคปลาคาร์ปเป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันโรคและรักษาสุขภาพปลาคาร์ป โดยไม่ควรมองข้ามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างรวมปลาหรือในการเลี้ยงในระยะยาว

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำสามารถสอบถามได้ที่ LINE ID : @koikoito